นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนจัดหารถโดยสารไฟฟ้า (อีวี) จำนวน 3,200 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่ให้ ขสมก. มาทบทวนแผนฟื้นฟูกิจการฯ (ฉบับปรับปรุงใหม่)อีกครั้ง ซึ่งการปรับเพิ่มจำนวนการจัดหารถโดยสารดังกล่าวนั้น
เนื่องจากแผนเดิมที่จัดทำไว้ตั้งแต่ปี 63 มีแผนการจัดหารถจำนวน 2,800 คัน เพื่อทดแทนรถโดยสาร(รถเมล์)ขสมก. ที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันจำนวน 2,800 คัน ใน 109 เส้นทาง และวิ่งให้บริการช่วยในเส้นทางเอกชน 19 เส้นทาง แต่ขณะนี้รถเมล์มีสภาพทรุดโทรม และมีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน จึงได้เสนอขอปรับแผนฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด รวมถึงสอดรับกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ขสมก. ได้ดำเนินโครงการว่าจ้างซ่อมแซมตัวถังพร้อมทำสีรถโดยสารปรับอากาศ (รถเมล์แอร์) ยูโรทู ยี่ห้อฮีโน่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน323คันซึ่งเป็นเครื่องยนต์เก่า และน่าจะใช้งานได้อีกประมาณ 5 ปี จึงได้พิจารณาปรับแผนรถจำนวนดังกล่าวให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงคมนาคมด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะนี้แผนฯ ดังกล่าว ยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร จะเป็นการซื้อหรือเช่า ซึ่งเรื่องนี้ ขสมก. ต้องพิจารณาตามหลักกฎหมาย เนื่องจากมีการใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. และแผนปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)
นายสรพงศ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม คาดว่า ขสมก. จะสรุปแผนดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ(บอร์ด)ขสมก. พิจารณาได้ภายใน 2 เดือนนี้ ก่อนจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง,คนร. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบต่อไป โดยระหว่างรอแผนดังกล่าวแล้วเสร็จ ขสมก. จึงมีแผนระยะสั้นในการจ้างเหมาบริการเดินรถเมล์ไฟฟ้าจำนวน 224 คันวงเงิน 953 ล้านบาท คาดว่าจะส่งมอบรถได้ในช่วงต้นปี 66
สำหรับการจัดหารถเมล์ไฟฟ้าจำนวน 3,200 คันนั้น ตามแผนต้องดำเนินการครบภายใน 3 ปี โดยทยอยนำรถเมล์ไฟฟ้ามาให้บริการผู้โดยสารปีละ 1,000 คัน ซึ่งใน ส.ค.65 พบว่ามีผู้ประกอบการเดินรถเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถจาก ขบ. ครั้งที่ 1 จำนวน 54 เส้นทาง จะนำรถเมล์ไฟฟ้ามาบรรจุในเส้นทางต่างๆ ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลจำนวน 150 คัน โดยวันที่ 20 ส.ค.นี้จะคิกออฟสาย 2-38 (สาย 8 เดิม) แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ และใน ต.ค. 65 จะมีผู้ประกอบการเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถจาก ขบ. จำนวน 77 เส้นทางในครั้งที่ 2 นำรถเมล์ไฟฟ้ามาให้บริการเส้นทางต่างๆ อีกจำนวน 780 กว่าคัน
นายสรพงศ์ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันการทบทวนแผนฟื้นฟูครั้งนี้ ขสมก. ต้องปรับโครงสร้างองค์กร ที่ผ่านมา ขสมก. มีโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (เออร์ลี่รีไทร์) รวมทั้งจัดหาบุคลากรที่มารองรับการให้บริการรถเมล์ไฟฟ้าในอนาคตด้วย เพราะต้องมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ขสมก. มีพนักงานอยู่ประมาณ 10,600 คน โดยยังขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรไฟฟ้า และด้านระบบไอที
ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการรถเมล์ ขสมก. ช่วงวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) อยู่ที่ 700,000 คนต่อวัน ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ อยู่ที่ 400,000 คนต่อวัน จากจำนวนรถเมล์ที่วิ่งให้บริการ 2,800 คัน ขณะนี้ ขสมก. ปรับเพิ่มเที่ยววิ่ง รองรับการเดินทางผู้โดยสารมากขึ้น ซึ่งจากเดิมมีเที่ยววิ่ง 17,000 เที่ยวต่อวัน ตอนนี้ปรับเป็น 19,000 เที่ยวต่อวัน สามารถรองรับผู้โดยสารใช้บริการได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100,000 คนต่อวัน ขณะที่มูลค่าหนี้สะสม ขสมก. ปัจจุบันอยู่ที่ 133,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ ครั้งแรกอยู่ที่ 124,000 ล้านบาท
แม้จำนวนผู้โดยสารจะใช้บริการเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เท่ากับช่วงที่ยังไม่มีโควิด-19 ระบาดเมื่อปี 62 ที่มีผู้โดยสารใช้บริการ 1 ล้านกว่าคนต่อวัน ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการหลัก 1 ล้านกว่าคนนี้ได้รวมทั้งรถเมล์ ขสมก. และรถร่วม ขสมก. แต่ปัจจุบันรถร่วมฯ ได้ไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ขบ. และได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถเส้นทางรถเมล์ต่างๆ โดยตรงจาก ขบ. จะทำให้ยอดรวมการใช้บริการของ ขสมก. ไม่ถึง 1 ล้านคนต่อวันเหมือนในอดีตที่ผ่านมา