ในปี 2566 ประชาชนคนไทยมีเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งนั่นคือช้าง "พลายศักดิ์สุรินทร์" ได้กลับมาอาศัยอยู่ผืนแผ่นดินเกิดอีกครั้ง หลังที่ได้จากแผ่นดินแม่ไปทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรีถึงประเทศศรีลังกา เป็นเวลา 22 ปีเต็ม และยิ่งสำคัญไปกว่านั้น เขาจะอยูที่นี่ไปจนวันตาย โดยไม่ต้องกลับไปตกระกรรมลำบากอีก เพราะถือเป็นช้างที่อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" อย่างหาที่สุดไม่ได้
ทำไมถึงต้องไปอยู่ไกลถึงประเทศศรีลังกา?คำพูดจาก สล็อตวอเลท
เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยโดย นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะนั้นทำหน้าที่เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ได้แชร์เรื่องราวผ่านเพจเพซบุ๊ก เล่าว่าในปี 2544 ประเทศไทยได้รับหนังสือจากประธานาธิบดีศรีลังกา ขอพระราชทานช้างไปแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งนับเป็นประเพณีทางศาสนาพุทธที่เก่าแก่ถือปฎิบัติมายาวนานกว่า 270 ปี จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้กรมป่าไม้หาช้างอายุน้อย 2 เชือก ต่อมานายสมโรจน์ คูกิจติเกษม ได้นำช้างที่เปี่ยมด้วยคชลักษณ์น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะทรงดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งยังได้ทรงพระสุหร่ายและพระราชทานพรให้ ก่อนนำช้างทั้งสองไปมอบให้ประธานาธิบดีศรีลังกา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2544 ต่อมาช้างทั้งสองได้แยกกันอยู่ตัวพี่ "พลายศักดิ์สุรินทร์" อยู่วัด Kande Vihara ส่วนตัวน้อง "พลายศรีณรงค์" อยู่วัด Kelaniya แต่ทว่าก่อนหน้านั้นในปี 2523 ประเทศไทยได้ส่งช้างเชือกแรกไปเป็นทูตสันถวไมตรีให้ศรีลังกาแล้ว คือ "พลายประตูผา" ต้องบอกว่า "พลายศักดิ์สุรินทร์" เป็นช้างเลี้ยงมีถิ่นเดิมอยู่จังหวัดสุรินทร์ ไม่ใช่ช้างป่า เดิมทีมีควาญช้างที่คอยดูแลคือ "นายทองสุก มะลิงาม"
ความเป็นอยู่ดีสมเป็นผู้ทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรี?
"พลายศักดิ์สุรินทร์" จากบ้านไปทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรีประเทศศรีลังกาตั้งแต่อายุไม่ถึง 10 ปี จนวันนี้มีอายุประมาณ 30 ปี เมื่อไปถึงศรีลังกาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มธุราชา" กระทั่งปี 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก องค์การ Rally for Animal Rights & Environment (RARE) องค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ร้องเรียนถึงการใช้แรงงานอย่างหนักที่ผ่านมา "พลายศักดิ์สุรินทร์" ไม่ได้รับการดูแลดีเท่าที่ควร มีสภาพผอมโซ แห้ง เห็นกระดูกหลัง ผิวหนังหยาบ ขาหน้าซ้ายผิดปกติ งอเข่าไม่ได้มานานราว 8 ปี มีฝีหนองที่สะโพกขวาและซ้าย ฝ่าเท้าบางเพราะยืนนานเกินไป
เป็นที่มาของความคิดที่จะขอช้างคืนกลับมารักษาตัว
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ ตั้งคณะทำงานมีการประชุมหารือร่วมกับทีมสัตวแพทย์ และรัฐบาลศรีลังกา เพื่อที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อพา "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับมารักษาที่ประเทศไทย โดยได้ส่งทีมแพทย์ไปที่ประเทศศรีลังกา อันดับแรกคือการตรวจสุขภาพร่างกาย ผลตรวจปรากฎว่าสุขภาพย่ำแย่จริงๆ จึงเห็นควรให้ย้ายตัวชั่วคราวมาดูแลเบื้องต้นที่สวนสัตว์แห่งชาติเดฮิวาลา ในกรุงโคลัมโบ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 รัฐบาลศรีลังกาได้เห็นชอบและขอบคุณรัฐบาลไทยที่ช่วยดูแลรักษษสุขภาพช้าง โดยเห็นชอบให้นำ "พลายศักดิ์สุรินทร์" บินกลับมารักษาอาการเจ็บป่วยที่ประเทศไทย นับจากนั้นเรื่องราวของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ก็เป็นที่สนใจของบรรดาสื่อมวลชนและคนไทยนับแต่นั้นมา
แม่พระของช้างบินลัดฟ้าทวงช้างกลับคืนมาตุภูมิ
วันที่ 30 มิถุนายน 2566 นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางไปประเทศศรีลังกา เพื่อเยี่ยมและดูแลการเตรียมการขนย้าย "พลายศักดิ์สุรินทร์" นับตั้งแต่รู้อาการของช้างย่ำแย่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 พร้อมโพสต์ข้อความระบุว่า "เราได้เจอกันแล้ว บอกเขาว่า เรากลับบ้านเรา กลับเมืองไทยกันนะ ทราบว่าเมื่อเช้ามีพิธีบายศรีเป็นสิริมงคล พ่อพลายได้ทานอาหารเยอะมาก เข้าดูกรงที่พ่อพลายจะโดยสารกลับ เย็นนี้เมื่อสวนสัตว์ปิดจะไปดูการซ้อม คนที่นั่นบอกว่า ตั้งแต่ "พลายศักดิ์สุรินทร์" มาอยู่สวนสัตว์นี้ คนเข้ามาเที่ยวมากมายอย่างเห็นได้ชัด และโดยเฉพาะช่วงนี้คนศรีลังกามาลาพ่อพลายของเรามากค่ะ" จากนั้นนางสาวกัญจนา ก็ได้หันไปพูดกับ "พลายศักดิ์สุรินทร์" บอกว่าจะได้กลับบ้านเราแล้ว ทันใดนั้น "พลายศักดิ์สุรินทร์" ก็ร้องตอบรับเสียงดังลั่น 4 ครั้ง
คนไทยเกาะติดภารกิจนำช้างกลับบ้านเกิด
ภารกิจประวัติศาสตร์พา "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับแผ่นดินแม่ มีขึ้นในกลางดึกของวันที่ 1 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย เจ้าหน้าที่เคลื่อนย้าย "พลายศักดิ์สุรินทรื" จากสวนสัตว์แห่งชาติเดฮิวาลา ในกรุงโคลัมโบ มายังสนามบินก่อนจะนำช้างขึ้นเครื่องบิน Ilyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ถึงสนามบินเชียงใหม่ ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กรกฎาคม แล้วจึงขนย้ายขึ้นรถไปกักโรค 30 วันพร้อมรักษาอาการป่วยที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ในวันเดียวกัน ปฏิบัติการทุกอย่างราบรื่นคนไทยจำนวนไม่น้อยติดตามการรายงานสดของสื่อหลายสำนัก
เป็นบุญของช้างที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ
3 วันผ่านไปหลังจากกลับมาเหยียบแผ่นดินแม่ "พลายศักดิ์สุรินทร์" มีอารมณ์ดี ส่ายหัวไปมา มีความคุ้นเคยกับสภาพรอบด้านมากขึ้น กินอาหาร กินน้ำ และขับถ่ายเป็นปกติซึ่งนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงรับ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ถือเป็นบุญของช้าง สื่อเป็นนัยว่า "พลายศักดิ์สุรินทร์" จะไม่ต้องกลับไปประเทศศรีลังกาอีกแล้ว หลังมีข่าวก่อนหน้านี้ว่าเมื่อกระบวนการรักษาอาการบาดเจ็บสำเร็จลุล่วง รัฐบาลไทยจะต้องส่งช้างกลับคืนประเทศศรีลังกา
แล้วช้างไทยอีก 2 เชือกจะได้กลับมาไหม?
สำหรับ "พลายประตูผา" และ "พลายศรีณรงค์" ช้างไทย 2 เชือกที่ยังอยู่ในความดูแลของประเทศศรีลังกา จากการตรวจสอบของนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา พบว่า "พลายศรีณรงค์" ได้รับการดูแลค่อนข้างดี สุภาพพดี อ้วนท้วนสมบูรณ์ "พลายประตูผา" แม้ว่าจะอายุมากแล้ว แต่ยังคงได้รับการดูแลที่ดีกว่า "พลายศักดิ์สุรินทร์"
ช็อก! “อีซอนคยุน” นักแสดง Parasite และ My Mister ถูกพบเสียชีวิตในรถยนต์
ทางด่วนฟรี 7 วันรวดช่วงปีใหม่ 2567 เริ่ม 28 ธ.ค.66
โอนเงินชาวรอบที่ 3 กว่า 1.3 แสนครัวเรือน เป็นเงินกว่า 1,100 ล้านบาท