กรณีบริษัทในเมียนมา ได้ทำสัญญาบริการ กับบริษัทหนึ่งในประเทศไทยให้ส่งคนไปอบรมกับพนักงานในเมียนมา โดยในสัญญาระบุว่าให้มีการจ่ายโดย บริษัท A (เป็นบริษัทในไทย เกี่ยวพันทางอ้อมกับบริษัทในเมียนมา) เป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายแทน ต่อมาบริษัท A ก็ได้จ่ายเงิน โดยได้รับใบกำกับภาษีเป็นแบบไม่มี VAT และไม่หัก ณ ที่จ่าย และต่อมา บริษัท A ก็เรียกเก็บเงิน บริษัทเมียนมา
ขอสอบถามว่า
ประเด็นที่ 1 การบริการเกิดขึ้นในต่างประเทศ และผลของงานก็อยู่ในต่างประเทศ บริษัทในไทย ที่ออกใบกำกับภาษี เป็น 0% และไม่หัก ณ ที่จ่าย ถูกต้องหรือไม่
ประเด็นที่ 2 เมื่อบริษัท A ต้องเรียกเก็บเงินสำหรับค่าใช้จ่ายนี้ ต้องทำใบแจ้งหนี้ไปเรียกเก็บบริษัทเมียนมา Invoice ที่ออกต้องเปิดแบบมี VAT หรือ เป็น VAT 0% นั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
กรณีบริษัทในเมียนมาว่าจ้างให้บริษัทในประเทศไทยแห่งหนึ่งส่งวิทยากรไปฝึกอบรมพนักงานของตนในเมียนมา โดยตกลงให้บริษัท A ในประเทศไทยเป็นผู้ทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายแก่บริษัทผู้รับจ้างดังกล่าว นั้น
ประเด็นแรก การให้บริการฝึกอบรมเบ็ดเสร็จกระทำในเมียนมา ทั้งการให้บริการ และผลของบริการเกิดขึ้นอยู่ในต่างประเทศทั้งสิ้น เข้าลักษณะเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นนี้
(1) บริษัทผู้รับจ้างในประเทศไทย ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี เพียงแค่ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) เรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวจากบริษัท A ตามข้อตกลง
(2) บริษัท A ในฐานะตัวแทนการจ่ายเงินค่าบริการของบริษัทผู้ว่าจ้างในประเทศเมียนมา ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพราะบริษัท A ผู้รับจ้างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากไม่มีสถานประกอบการถาวร และมิได้ประกอบการผ่านสถานประกอบการถาวรในเมียนมา ถูกต้องแล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ประเด็นที่ 2 เมื่อบริษัท A ต้องเรียกเก็บเงินสำหรับค่าใช้จ่ายนี้ ต้องทำใบแจ้งหนี้ไปเรียกเก็บบริษัทเมียนมา Invoice ที่ออกต้องไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากเป็นการคืนเงินทดรองเท่านั้น ไม่ใช่รายได้ของบริษัท A แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากบริษัท A มีการเรียกเก็บค่าบริการติดต่อประสานงานกับบริษัทผู้ให้การฝึกอบรม เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในประเทศไทย และได้ใช้บริการนั้นในประเทศไทย ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของค่าบริการดังกล่าว.