ในช่วงนี้ตลาดการเงินของไทยดูจะอ่อนไหวง่าย และค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากปัจจัยความกังวลที่มาจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะดอกเบี้ยโลกขาขึ้น เห็นได้จากธนาคารกลางทั่วโลกได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังเงินเฟ้อพุ่งสูง ทำให้เศรษฐกิจเกิดความร้อนแรง และมีความเสี่ยงอาจเกิดเศรษฐกิจถดถอยได้ในอนาคต
โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากและชัดเจนที่สุด ทำให้กดดันธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในรอบการประชุมล่าสุดได้มีความเห็น 3 เสียงจากกรรมการ 7 ท่าน ให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินเฟ้อไทย ที่มีท่าทีจะพุ่งขึ้นต่อเนื่อง มาดูความหมายและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของ อัตราดอกเบี้ยนโยบายกันว่าเป็นอย่างไร
-อัตราดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร?
อัตราดอกเบี้ยนโยบายกำหนดโดยธนาคารกลาง เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป
-อัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝากของเราอย่างไร?
โดยปกติ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม เมื่อ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามเช่นกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่เท่ากับการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เช่น ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
-การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลอย่างไรกับเราและเศรษฐกิจ?
การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาของสินค้าหรือบริการโดยรวมหรือที่เรียกว่า ‘อัตราเงินเฟ้อ’
อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลอย่างไรกับเรานั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นผู้กู้เงินหรือผู้ฝากเงินถ้าอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง หากเราเป็นผู้กู้เงิน ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะลดลง แต่หากเราเป็นผู้ฝากเงิน เราจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากน้อยลง
ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับลดลง เรามีแนวโน้มจะกู้เงินเพิ่มขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยถูกลง นอกจากนี้ เรามีแนวโน้มจะฝากเงินน้อยลง และจะนำเงินไปใช้จ่ายหรือลงทุนมากขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
หากเราเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้ความมั่งคั่งของเรามากขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำจะทำให้ประชาชนหันมาลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น ผู้ที่ถือครองสินทรัพย์จึงมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย
โดยสรุป เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับลดลงคนจะใช้จ่ายมากขึ้น ในทางกลับกัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นคนจะใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการต่อไป ตามหลักอุปสงค์และอุปทาน ดังนั้น หากเราต้องการให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย เราต้องประเมินว่าคนมีแนวโน้มจะใช้จ่ายเท่าไร การผลิตสินค้าและบริการมีแนวโน้มมากหรือน้อยกว่ากำลังการผลิต แล้วจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสม
หากคนใช้จ่ายน้อยเกินไป ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นน้อยหรือลดลง เศรษฐกิจจะชะลอตัวและการจ้างงานลดลง ในกรณีนี้ ธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้ เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีอีกครั้ง
หากคนใช้จ่ายมากเกินไป ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วและร้อนแรงเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น เงินเฟ้อสูงขึ้นมากจนมูลค่าของเงินลดลง หรือเกิดวิกฤติฟองสบู่แตก ทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ ธนาคารกลางอาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการใช้จ่าย ช่วยให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงเกินไปได้
(ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย)