นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการ โดยปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) มีความคืบหน้าการก่อสร้าง 96.79% ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 29 ขบวน จากทั้งหมด 30 ขบวน ส่วนสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) มีความคืบหน้า 92.28% ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 34 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน โดยทั้งสองเส้นทางมีแผนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 66คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างจัดทำ Proof of Safety เพื่อตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธาและงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการ ก่อนที่วิศวกรอิสระ (ICE) จะออกหนังสือรับรองความปลอดภัย เพื่อเปิดให้บริการให้แก่ประชาชนต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการรื้อย้ายสาธารณูปโภคซึ่งมีงานทับซ้อนกัน ณ ตำแหน่งทางขึ้นลงของสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (สถานี PK11-PK13) ประกอบด้วย การรื้อย้าย Duct Bank และแนวสายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการก่อสร้างทางระบายน้ำ (Flood Way) ของกรมทางหลวง (ทล.) ซึ่งตามแผนงานจะรื้อย้ายแล้วเสร็จประมาณเดือน มี.ค. 66
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้หารือถึงแนวทางการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู กับระบบขนส่งอื่น เช่น การก่อสร้าง Skywalk เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีหัวหมาก กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก ตลอดจนได้หารือแนวทางการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยก่อนการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 59 เส้นทาง ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 81 เส้นทาง และสายสีชมพูเดิมมีรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อ 50 เส้นทาง ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 82 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกการเชื่อมต่อการเดินทางให้แก่ประชาชน
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้สั่งการให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ดำเนินการดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการด้านการเดินรถ การเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง และการประเมินคุณภาพ 1.1 ให้คณะอนุกรรมการฯ ประสานผู้รับสัมปทานก่อสร้างเพื่อกำกับและติดตามการดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด และการจัดการจราจรให้มีผลกระทบต่อการเดินทางประชาชนน้อยที่สุด เช่น การคืนพื้นที่ผิวจราจรจากการก่อสร้าง 1.2 ให้มีการทดลองเดินรถเสมือนจริงโดยไม่เก็บค่าโดยสาร โดยศึกษารูปแบบจากรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
1.3 ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสาย และการเดินทางสาธารณะรูปแบบอื่น ให้มีความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ เช่น ทางเดินที่มีหลังคา, 2. คณะอนุกรรมการด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร ให้คณะอนุกรรมการพิจารณารูปแบบการคิดคำนวณค่าโดยสารโดยเปรียบเทียบกับวิธีการของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และการใช้บัตรโดยสารร่วม และประสานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ เพื่อเร่งประชาสัมพันธ์บัตรโดยสารแก่ประชาชน,
3.คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ ให้ประสานข้อมูลจากคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในทุกช่องทาง เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการ
เช่น การ Count down วันเปิดให้บริการ แนวทางการเชื่อมต่อขนส่งมวลชนระบบอื่น ๆ การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และ 4.คณะอนุกรรมการด้านการเตรียมการขอพระราชทานนามแนวเส้นทางโครงการ ให้ดำเนินการขอพระราชทานนามสำหรับทั้ง 2 โครงการ และพิจารณาขอพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์สำหรับประดิษฐานบริเวณอาคาร หรือสถานีของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยปฏิบัติตามขั้นตอน และระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเตรียมความพร้อมในการติดตั้งป้ายชื่อสถานีเมื่อได้รับพระราชทานชื่อแนวเส้นทาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ให้สัมภาษณ์ว่า เบื้องต้นในเดือน ธ.ค. 65 มีแผนเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู อย่างไม่เป็นทางการ ในลักษณะเดียวกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่ช่วงแรกจะเปิดให้ทดลองใช้บริการเป็นกรุ๊ปก่อน ซึ่งสถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ สามารถติดต่อขอทดลองใช้บริการได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ ก่อนเปิดบริการเดินรถบางส่วน (Partial) แบบเก็บค่าโดยสารประมาณเดือน ก.พ. 66